Samutprakarn 10270
Phone 02-186-3005-7
pkingmesh@gmail.com

ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป Wire Mesh

ลักษณะทั่วไปและกรรมวิธีการผลิต

ตะแกรงเหล็กเสริมคอนกรีตสำเร็จรูป P.King มีทั้งแบบชนิดผิวลวดข้ออ้อยและผิวลวดเรียบ

ผลิตด้วยระบบเครื่องจักรอัตโนมัติ ใช้วัตถุดิบจากลวดเหล็กดึงเย็น (COLD DRAWN STEEL WIRE) คุณภาพสูง มีกำลังดึงประลัย (ULTIMATE STRENGTH) ประมาณ 6,230 – 6,500 KSC. และมีกำลังคลากต่ำสุด (Min. YIELD STRENGTH) ประมาณ 5,500 KSC. มากกว่าเหล็กกล้าละมุน (MILD STEEL) ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปซึ่งมีกำลังคลากต่ำสุดเพียง 2,400 KSC. เท่านั้น นอกจากนี้ลวดเหล็กรีดเย็นยังมีการยืดตัวประมาณ 8%

P.KING ตะแกรงเหล็ก เป็นตะแกรงเหล็กสำเร็จรูปทำขึ้นโดยนำลวดเหล็กกล้าดึงเย็นมาเชื่อมแบบความต้านทานไฟฟ้า (Electrical resistance welding) ติดกันเป็นตะแกรง จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ที่มีความละเอียดสูง ทำให้จุดเชื่อมติดเป็นเนื้อเดียวกันทนแรงดึงได้ดี

ลักษณะการใช้งาน  P.KING  ตะแกรงเหล็ก

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้เอนกประสงค์กับงานคอนกรีตเสริมเหล็กต่างๆ อาทิเช่น

–  พื้นคอนกรีตทุกชนิด เช่น พื้นบนดิน (SLAB ON GROUND)

–  ท่อ BOX COLVERT

–  รองแผ่นฉนวนหลังคา (ROOF FLOOR)

–  คอนกรีตเททับหน้า (TOPPING)

–  พื้นสำหรับงาน POST TENSION

–  ผนังรับแรง/ กำแพงกันดิน (BEARING WALL)

–  นอกจากนี้ยังสามารถดัดขึ้นรูปได้ง่ายเพื่อใช้ในการก่อสร้างเฉพาะอย่าง เช่น ขั้นบันได ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ดาดท้องคลอง หล่อแผนพื้นสำเร็จรูป ฯลฯ

ข้อดีของ P.KING ตะแกรงเหล็ก

ประหยัดและลดการสูญเสียปริมาณเหล็ก

P.KING ตะแกรงเหล็ก มีกำลังคลาก (YIELD STRENGTH) สูงกว่าเหล็กเส้นธรรมดาที่ใช้กันอยู่ทั่วไปถึงสองเท่าจึงทำให้ประหยัดวัสดุ ประกอบกับ P.KING ตะแกรงเหล็กสามารถผลิตได้ตามขนาดที่ต้องการ จึงทำให้ไม่เสียเศษเหล็ก ลดขั้นตอน, เวลา, ค่าใช้จ่ายต่างๆ

รวดเร็ว

P.KING ตะแกรงเหล็กช่วยลดขั้นตอนการทำงาน เนื่องจากการขนส่งเคลื่อนย้ายได้สะดวกรวดเร็วสามารถนำไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการผูกเหล็ก ตัดเหล็ก ช่วยให้ประหยัดเวลาในการเตรียมงานได้ถึง 70 – 90%

ตรงตามมาตรฐาน

P.KING  ตะแกรงเหล็ก ผลิตด้วยเครื่องอาร์คไฟฟ้าอัตโนมัติระยะห่างระหว่างเส้นลวด (SPACING) และขนาดหน้าตัด (CROSS SECTIONAL AREA) สม่ำเสมอตลอดผืน มีความแข็งแรงไม่บิดงอ ทำให้งานเสริมเหล็กออกมาดี ซึ่งเป็นผลให้โครงสร้างมีความแข็งแรง

ระยะทาบของ P.King ตะแกรงเหล็ก

ตะแกรงเหล็กเชื่อมที่ใช้เป็นเหล็กเสริมในแผ่นพื้นจะต้องทนต่อทาบตามข้อกำหนดดังนี้

  1. ควรหลีกเลี่ยงการต่อลวดโดยใช้วิธีทาบ ณ บริเวณที่มีหน่วยแรงสูงสุด (ตำแหน่งที่ลวดนั้นรับแรงเกินกว่าครึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้) แต่ถ้าจำเป็นจะต้องใช้การต่อวิธีนี้ต้องมีระยะทาบของตะแกรงไม่น้อยกว่าระยะเรียงของเส้นลวด บวกอีก 5 ซม.

2.   การต่อลวดตะแกรงที่รับแรงไม่เกินครึ่งหนึ่งของหน่วยแรงที่ยอมให้จะต้องมีระยะทาบไม่น้อยกว่า 5 ซ.ม.

อ้างอิงมาตรฐาน ว.ส.ท. -3405 การต่อเหล็กเสริม (ฉ)

มาตรฐานการผลิต

มอก.737-2549 มอก.747-2531

มอก.194-2535 มอก.943-2533